Showing posts with label 2009. Show all posts
Showing posts with label 2009. Show all posts

Tuesday, November 18, 2008

หลักสูตรใหม่เพื่อความพร้อมในการทำงานปีสู่ 2552

•การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Creative Thinking for Strategic Planning & Formulation)

•การหาโอกาสจากวิกฤติและการสร้างแรงจูงใจในการฟันฝ่าวิกฤติในปี 2552 (Opportunistic & Motivational Workshop Toward 2009)

•ความคิดสร้างสรรค์ในการรักษาลูกค้า (Creative Customer Retention)

•การลดต้นทุนอย่างสร้างสรรค์ (Creative Cost Reduction)

•การนำเสนอแผนงานปี 2552 และการเจรจาต่อรองงบประมาณ (Presentation & Negotiation for Budget 2009)

•การคิดนอกกรอบเพื่อวางแผนปฏิบัติการอย่างสร้างสรรค์ในปี 2552 (Out-of-Box thinking for Creative Action Plan 2009)

•การแก้ไขข้อขัดแย้งทางอารมณ์อย่างสร้างสรรค์เชิงจิตวิทยา (Psychological & Creative Emotional Resolvement)

Empower people at work

Empower Staff Toward 2009

ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ผู้อำนวยการ/ผู้จัดการแผนกต่างๆ และซุปเปอร์ไวเซอร์ของหน่วยงานต่างๆ
คงจะต้อง “เหนื่อย” ในการทำงานหนักมากขึ้น
เพื่อฟันฝ่าวิกฤติในปี 2552 ที่กำลังจะมาถึง
อาจจะเหนื่อยในการลดค่าใช้จ่ายของแผนกและหน่วยงาน
เหนื่อยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะมีงบประมาณลดลง
หรือเหนื่อยในการรักษารายได้ในสภาวะที่ตลาดหดตัวเพราะกำลังซื้อลดลง
.......
จะดีอย่างไรถ้าเราสามารถแบ่งความเหนื่อยดังกล่าวไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาบ้าง
ด้วยการให้พนักงานมีความรับผิดชอบในการทำงานของตนมากขึ้น?
ให้พนักงานแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของตนได้ด้วยตัวเองมากขึ้น?
และให้พนักงานร่วมกันทำงานโดยไม่เกี่ยงกัน แม้ว่าหัวหน้าจะไม่อยู่คอยสั่งการ?
ซึ่งสิ่งต่างๆข้างต้นนี้ คือการ empower พนักงาน
.......
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัข้อ Empower Staff Toward 2009 ในครั้งนี้
จึงจะช่วยให้พนักงานมีทักษะในการช่วยลดความเหนื่อยของผู้บังคบบัญชาในช่วงวิกฤติ
อีกทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของตนเอง ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ภายหลังวิกฤตินี้ผ่านพ้นไป

หัวข้อหลักของการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
•ร่วมวิเคราะห์สนามพลัง (force-field analysis) เพื่อค้นพบแรงผลักและแรงต้านของการ empower พนักงาน
•ประยุกต์หลัการทั้ง 8 ของ Wickens และ Eaton ที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าสามารถ empower พนักงานได้จริง
•เพิ่มเติมแนวทางอีก 8 แนวทางจาก Robertson และ Smith เพื่อพัฒนาการลงมือทำตามสัญญา (commitment) ของพนักงาน
•ทำแบบทดสอบ (assessment) เพื่อประเมินระดับของ empowerment ของตนเองในปัจจุบัน และค้นพบประเด็นหลักที่ต้องได้รับการพัฒนา
•ความคิดเชิงบวกในการเพิ่มความรับผิดชอบของตน
•การค้นหาความคิดใหม่เพื่อเพิ่มประะสิทธิภาพในการทำงานของตน และศิลปะในการเสนอความคิดนั้นให้ได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
•ทักษะการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
•แนวทางในการทำงานแบบ empower กับผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และลูกค้าที่มีบุคคลิกต่างๆกันไป
•จัดทำ action plan เพื่อนำไปใช้จริงหลังการฝึกอบรม

Presentation & Negotiation for Budget 2009

บทนำ...
ซุปเปอร์ไวเซอร์ ผู้จัดการ และผู้อำนวยการหลายท่านกำลังเริ่มจะเสนอแผนงานในปี 2552 ให้ผู้บังคับบัญชาอนุมัติ ซึ่งมักถูกตัดงบประมาณ ซึ่งหลายครั้งเนื่องจากขาดทักษะการนำเสนอแผนงานและเทคนิคการเจรจาต่อรองงบประมาณที่เฉียบคม
ดังนั้น ทักษะการนำเสนอแผนงานและเทคนิคในการเจรจาต่อรองจึงช่วยปกป้องการถูกปฏิเสธแผนงานและถูกตัดงบ เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอในการผลักดันโครงการที่วางแผนเอาไว้ อันจะนำไปสู่ผลงานที่ยอดเยี่ยมในปลายปี 2552

หัวข้อการอบรม
ภาคทฤษฎี
· การพรีเซ็นต์แผน
o การกำหนดเป้าหมายทั้ง 3 สภาวะใน4 มิติ
o การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis)
o การกำหนดกลยุทธ์หลักในการพรีเซนต์
§ กลยุทธ์สำหรับข้อมูลที่เราอยากให้รู้ แต่ผู้ฟังไม่อยากรู้
§ กลยุทธ์สำหรับข้อมูลที่เราอยากให้รู้ และผู้ฟังก็อยากรู้
§ กลยุทธ์สำหรับข้อมูลที่เราไม่อยากให้รู้ แต่ผู้ฟังอยากจะรู้
o การเตรียมสภาวะจิตใจ การใช้เทคนิคการคิด และการทำกิจกรรมเชิงจิตวิทยา เพื่อลดความประหม่าตื่นเต้น และเพื่อสร้างความมั่นใจก่อนการพรีเซ็นต์
o การใช้เทคนิค RAMP ในการเริ่มการพรีเซนต์
o กลเม็ดในการการสร้างความน่าสนใจและทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในระหว่างการพรีเซ็นต์
o เทคนิคการเชื่อมโยงสิ่งที่ผู้ฟังการพรีเซนต์รู้อยู่แล้ว กับเนื้อหาใหม่ที่ต้องการจะถ่ายทอด
o สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำระหว่างการพรีเซ็นต์
o ปัญหาที่เกิดระหว่างการพรีเซ็นต์และแนวทางการป้องกัน หลีกเลี่ยง และแก้ไข
o เทคนิคในการพรีเซ็นต์งานเป็นทีม
o การจบการพรีเซ็นต์ที่จะนำไปสู่การจูงใจให้ผู้ฟังการพรีเซนต์กระทำในสิ่งที่เราต้องการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
· การเจรจาต่อรองงบประมาณ
· ทำแบบทดสอบเพื่อค้นพบสไตล์การต่อรองของตนเอง
· การปรับสไตล์การเจรจาของตนให้สอดคล้องกับการเจรจาแบบ win-win
· เตรียมเมตริกการเจรจา และกลวิธีต่างๆในการเจรจาต่อรองแบบลื่นไหล
· อ่านบุคลิกของคู่เจรจา ตามหลักบุคลิกภาพแบบ DiSC และการปรับสไตล์ในการเจรจาให้ “เข้าทาง” สอดคล้องกับบุคลิกนั้นๆ
· การปิดการเจรจาต่อรองงบประมาณ

ภาคปฎิบัติ
· Workshop เพื่อประยุกต์ทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติในการทำงานจริง

ประโยชน์ที่ได้รับหลังเข้าอบรม
· ได้รับการอนุมัติแผนงานและงบประมาณที่นำเสนอสำหรับปี 2552
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้อำนวยการ /ผู้บริหาร /ผู้จัดการ/ ซุปเปอณ์ไวเซอร์ และผู้สนใจทั่วไป ที่ต้องเสนอแผนงานและงบประมาณในปี 2552

Opportunistic & Motivational Workshop Toward 2009

ในขณะที่ทุกองค์กรกำลังต้องเดินหน้าเข้าหาวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2552 ที่กำลังจะมาถึง.........อาจมีบางองค์กรที่พนักงานกำลังอยู่ในสภาวะ “ตระหนก” กับความไม่แน่นอนที่กำลังจะเกิดขึ้นมีความคิดและความรู้สึกที่ “มืดมน” “ลังเล” และ“สับสน” กับการทำงานท่ามกลางวิกฤตินั้นและอาจมีการทำงานแบบ “รอรับมือ” กับสถานการณ์ในอนาคต......แต่อาจมีบางองค์กรที่พนักงานอยู่ในสภาวะ “ตระหนัก” ถึงความไม่แน่นอนนั้นจึงหาความคิดที่ “ชัดเจน” และมีความรู้สึกที่ “มั่นใจ” และ “มุ่งมั่น” ในการฟันฝ่าวิกฤติ และอาจมีเตรียมพร้อมในการทำงานแบบ “เชิงรุก” กับสถานการณ์ในอนาคต ........Workshop ในครั้งนี้มีเป้าหมายในการกระตุ้นให้พนักงานเป็นแบบองค์กรที่สองที่กล่าวมาข้างต้นจึงจำเป็นต้องผสมผสานศาสตร์ด้านต่างๆที่หลากหลายทั้งศาสตร์เชิงจิตวิทยาในการปรับความรู้สึกเพื่อสู้กับวิกฤติผสมผสานกับแนวทางการพัฒนา A.Q. (Adversity Quotient: ความฉลาดในการฟันฝ่าอุปสรรค)รวมถึงความคิดเชิงบวก (Positive Thinking) และความคิดสร้างสรรค์เพื่อหาวิธีทำงานใหม่ๆกับสอดคล้องสภาวะที่ต่างไปจากเดิมอีกทั้งยังนำเอา Change management มาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานทั้งนี้ เพื่อให้เกิดารจูงใจตนเอง (Self Motivation) ในการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส


Opportunistic & Motivational Workshop Toward 2009

•ทำความเข้าใจในแนวทางเชิงจิตวิทยา “๔ปรับ ๓เติม” ตามแนวทางของกรมสุขภาพจิต
•พัฒนาองค์ประกอบทั้ง ๕ ของ A.Q. เพื่อเพิ่มความฉลาดในการฟันฝ่าอุปสรรค
•ค้นพบประเด็นหลักของวิกฤติที่องค์กรจะต้องเผชิญ
•ค้นหาความคิดเชิงบวก (positive thinking) จากวิกฤติที่ค้นพบ
•ปรับการทำงานแบบเดิม ให้สอดคล้องกับวิกฤติที่ค้นพบ
•ค้นหาความคิดใหม่ๆในการฟันฝ่าวิกฤติ
– ด้วยการคิดสร้างสรรค์แบบการคิดด้น (divergent thinking)
–ตามมาด้วยการคิดเชิงตรรกะด้วยการคิดควบ (convergent thinking) เพื่อจับกลุ่มความคิดใหม่
–และดัดความคิดใหม่ให้นำมาสู่การปฏิบัติได้ด้วยกระบวนการ PPCO
•เข้าใจในการบริหารการเปลี่ยนแปลงทั้ง ๔ ขั้นตอนเพื่อนำความคิดใหม่ไปสู่การปฏิบัติ
•ร่วมทำกิจกรรมเชิงจิตวิทยา NLP (Neuro Linguistic Programming) เพื่อโปรแกรมความรู้สึกใหม่ในการกระตุ้นและสร้างความมั่นใจในตนเอง ในการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เพื่อฟันฝ่าอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จ