ทดแทนการบรรยายและเล็คเชอร์ ด้วยการผสมผสานศาสตร์ด้านการฝึกอบรมสมัยใหม่ เช่น:
•Experiential training
ด้วยการเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีอยู่ก่อน แล้วจึงต่อยอดด้วยการเพิ่มความรู้และทฤษฎีใหม่
•Brain-based learning
เพื่อปรับการเรียนรู้ให้สอดรับกับการทำงานของสมอง
•Neuro-Linguistic Programmimg (NLP)
เพื่อให้เนื้อหาเข้าลึกถึงจิตใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ความมุ่งมั่นในการฝึกอบรม มุ่งฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ด้วยเนื้อหาและวิธีการที่แตกต่าง เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริง •เพิ่มศักยภาพด้านใด? ด้านที่ไม่มีการสอนในสถาบันศึกษาแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงาน และเป็นด้านที่วิทยากรมีประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง อาทิเช่น ด้านการคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำและหัวหน้างาน การตลาด การขาย การบริการ การพัฒนาการทำงานเชิงจิตวิยา
•มีเนื้อหาแตกต่างอย่างไร? คัดสรรจากเนื้อหาใหม่ที่เป็นปัจจุบัน... ไม่ใช่เนื้อหาที่อยู่ในตำราเรียนที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรู้อยู่แล้ว ค้นคว้าจากเนื้อหาจากทั่วโลก…ทั้งจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษและญี่ปุ่น ครอบคลุมเนื้อหาเชิงจิตวิทยา...ซึ่งส่งผลต่อการทำงานเพิ่มเติมร่วมกับความเข้าใจในเหตุผล •มีวิธีการแตกต่างอย่างไร? ประยุกต์นำศาสตร์สมัยใหม่ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) มาผสมผสานร่วมกัน เช่น •Learner-Centered เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
•Active Learning เพื่อแทนการบรรยายและเล็คเชอร์
•Experiential Learning ไม่ใช่การนำประสบการณ์ของวิทยากรมาเล่าให้ฟัง แต่นำประสบการณ์ของผู้รับการฝึกอบรมเองออกมา แล้วจึงต่อยอดประสบการณ์นั้นด้วยองค์ความรู้ใหม่
•Brain-Based Learning ปรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
•Accelerated Training ด้วยการถ่ายทอดเนื้อหาโดยไม่ต้องผ่านจิตสำนึก
•Neuro-Linguistic Programming (NLP) ปรับความรู้สึกและทัศนคติผ่านกิจกรรมเพื่อให้เกิดสภาพ “ความคิดก็ไป...และใจก็มา”
•ส่งผลต่อการนำไปทำงานได้จริงได้อย่างไร? ด้วยกิจกรรมเตือนความจำหลังการฝึกอบรม อาทิเช่น กิจกรรม “The New Behavior Generator” และ “Self-written Letter” หรือ•จัดทำไดอารี่ให้ผู้รับการฝึกอบรมนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้จริงในช่วงระยะเวลา 21 วันหลังการฝึกอบรม
หมายเหตุ คุณศรัณย์ ได้รับแรงบันดาลใจในการฝึกอบรมจากการศึกษาค้นคว้างานของปรมาจารย์หลายท่าน อาทิเช่น
Kenneth Blanchard Ph.D; Dr.Edwards de Bono; Spencer Johnson; Harold D. Stolovitch; John Bladler Ph.D. & Richard Grinder Ph.D.; Peter M. Senge; Stephen R. Covey และผู้เชี่ยวชาญอีกหลายสิบท่านที่บรรยายในงาน ASTD 2004 International Conference& Exposition จึงขอขอบคุณไว้ ณ.โอกาสนี้
Showing posts with label AdultLearning. Show all posts
Showing posts with label AdultLearning. Show all posts
Saturday, February 24, 2007
วิธีการฝึกอบรม
ป้ายกำกับ:
AdultLearning,
BBL,
experiential training,
NLP,
ฝึกอบรม,
วิทยากร,
ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์
Subscribe to:
Posts (Atom)