Monday, December 8, 2008

The Pit-Stop training session

การฝึกอบรมเพื่อแวะซ่อมบำรุง
The Pit-Stop training session
หากเปรียบการทำงานของพนักงานเป็นการลงแข่งรถในสนามแข่งการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆที่จัดทำไปแล้วก็อาจเปรียบเสมือนการเตรียมรถและผู้ขับให้มีความพร้อมก่อนออกเส้นสตาร์ท.......
และเมื่อแข่งขันไประยะหนึ่ง ที่ต้องเจอกับการสึกหรอและความอ่อนล้า หากฝืนแข่งต่อไป อาจไม่สามารถทำความเร็วที่จะเข้าเส้นชัยสู่ชัยชนะได้ จึงจำเป็นที่จะต้องจอดแวะ pit stop เพื่อเปลี่ยนยางที่สึกหรอ ขันน็อตที่หลวมและให้คำแนะนำเพิ่มเติมและกำลังใจให้แก่นักขับ......
เช่นเดียวกับการทำงานของพนักงานที่อาจเจอทั้งอุปสรรค ความผิดพลาด การถูกปฏิเสธ และความขัดแย้งซึ่งหากฝืนทำงานต่อไป ก็คงมีประสิทธิภาพต่ำลง......

การฝึกอบรมครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนการแวะ pit stop ที่มุ่งเน้นการค้นหาสิ่งที่พนักงานสึกหรอจากการทำงานที่ผ่านมาซึ่งอาจเป็นทั้งความสึกหรอทางความคิด ทางความรู้สึก หรือทางพฤติกรรมแล้วจึงมุ่งซ่อมแซมสิ่งนั้นๆด้วยการนำเสนอเฉพาะทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ออกทำงานต่อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายของการทำงานได้ต่อไป

ดังนั้น การฝึกอบรมครั้งนี้จึงไม่มีการกำหนดหัวข้อของการฝึกอบรมเอาไว้ล่วงหน้า!
มีเพียงแต่ขั้นตอนของการฝึกอบรม ดังนี้
A. ค้นหา “จุดสึกหรอ”ของการทำงานที่ผ่านมา โดยผู้ร่วมฝึกอบรมเอง
A.1. วิทยากรรวบรวมจุดสึกหรอ และช่วยค้นหา สาเหตุ ของความสึกหรอนั้น
A.1.1 สาเหตุเกิดจากความคิดและความเชื่อ
A.1.2 สาเหตุเกิดจากความรู้สึกและอารมณ์
A.1.3 สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมและการกระทำ
A.2 วิทยากรนำเสนอทฤษฎีและหลัการ* ในการ “ซ่อมแซม” จุดสึกหรอนั้นๆ
A.3. วิทยากรนำเสนอทฤษฎีและหลัการ* ในการ “ป้องกัน” ไม่ให้เกิดการสึกหรอในจุดนั้นๆในอนาคต
A.4. ร่วมปฏิบัติลงมือ “ซ่อมแซม” และ “ป้องกัน” โดยผู้ร่วมฝึกอบรมเอง
B. วิทยกรนำการค้นหา “จุดสึกหรอ” จุดอื่นๆที่ผ่านมาเพิ่มเติม และดำเนินตามขั้นตอน A.1-A.4
C. วิทยกรนำการค้นหา “จุดสึกหรอ” ที่ผู้ร่วมฝึกอบรมคาดว่าอาจขึ้นในอนาคต และดำเนินตามขั้นตอนA.1-A.4
หมายเหตุทฤษฎีและหลัการที่ใช้อาจหลากหลาย อาทิเช่น DiSC, MBTI, CBT (Cognitive Behavior Theory), CPS (Creative Problem Solving) เป็นต้น

ป.ล.
การฝึกอบรมครั้งนี้ จึงอาจแบ่งผู้ร่วมฝึกอบรมออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อซ่อมแซมจุดสึกหรอที่มีร่วมกัน อาทิเช่น
แบ่งตามลักษณะงานกลุ่ม front-office กลุ่ม back-office
แบ่งตามระดับการทำงานกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการกลุ่มพนักงานระดับซุปเปอร์ไวเซอร์ขึ้นไป

ป.ล.๒
และการฝึกอบรมครั้งนี้ จึงอาจทำได้ในสองช่วงเวลา อาทิเช่น
ทำในช่วงปลายปี ๒๕๕๑ หรือในช่วงต้นปี ๒๕๕๒ เพื่อซ่อมแซมการทำงานในปี ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา
ทำในช่วงต้นปี ๒๕๕๒ เพื่อเตรียมพร้อมฟันผ่าวิกฤติเศรษฐกิจที่จะมาถึง
และตลอดปี ๒๕๕๒ เพื่อซ่อมแซมการทำงานที่จะต้องเกิดขึ้นจากการผ่านพบวิกฤติเป็นระยะๆตลอดปี ๒๕๕๒